วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555
ภาระงานที่ 1
นางสาวนงนภา โกมินทร์
สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) กลุ่ม 1 รหัส 53181010119
ภาระงานที 1: การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
(content analysis)
ชื่อบทเรียน อักษรนำ
หัวข้อเนื้อหา/วัตถุประสงค์การเรียนรู้
|
รายละเอียดของเนื้อหา
|
1. ความหมายของอักษรนำ
2. ลักษณะของอักษรนำ
และตัวอย่างอักษรนำ
2.1 คำที่มีพยัญชนะต้น 2 ตัว
2.2 คำที่ใช้ ห นำ อักษรเดี่ยว
2.3 คำที่ใช้ อ นำ ย
3. แบบทดสอบหลังเรียน
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อผู้เรียนเรียนบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์หัวข้อและเนื้อหานี้แล้ว
ผู้เรียนสามารถอ่านและเขียนคำที่มีอักษรนำได้ถูกต้อง
|
1. ความหมายของอักษรนำ
อักษรนำ คือ คำที่มีพยัญชนะต้นสองตัวเรียงกัน
ประสมด้วยสระเสียงเดียวกัน เรียกพยัญชนะ ตัวแรกว่า อักษรนำ เรียกพยัญชนะตัวหลังว่า
อักษรตาม การอ่านออกเสียง วรรณยุกต์จะออกเสียงตามตัวที่เป็นอักษรนำ
2. ลักษณะของอักษรนำ
และตัวอย่างอักษรนำ
ลักษณะของอักษรนำ
มีดังนี้
2.1. มีพยัญชนะต้น 2 ตัว
เมื่ออ่านออกเสียงจะมี 2 พยางค์ ในพยางค์แรก
จะมีเสียงสระอะ ส่วนพยางค์ที่ 2 มีเสียง ห นำ
โดยพยางค์หลังออกเสียงวรรณยุกต์ตามพยางค์แรก
2.2. ใช้ ห นำอักษรเดี่ยว
เมื่ออ่านอกเสียงจะอ่านเพียงพยางค์เดียว ไม่ออกเสียง ห แต่เสียงวรรณยุกต์จะเป็น เสียง
ห เป็นพยัญชนะสองตัวเรียงกัน
เรียกว่า อักษรนำ ตัว ห เป็นอักษรนำ ไม่อ่านออกเสียง
แต่อ่านออกเสียงอักษรตัวหลังตามอักษรนำ
2.3. ใช้ อ นำ ย
มีที่ใช้ในภาษาเพียง 4 คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
ออกเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงเอกเหมือนเสียง อ่า อู่ อ่าง อาก
3. แบบทดสอบหลังเรียน
ตอบคำถามจากบทเรียน 5 ข้อ
|
วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555
ประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน cai
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาจากคำว่า CAI (Computer Assisted Instruction) หมายถึงวิถีทางของการสอนรายบุคคลโดยอาศัยความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันมีการแสดงเนื้อหาตามลำดับที่ต่างกันด้วย บทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่างเหมาะสม คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงเป็นเครื่องมือช่วยส่วนอย่างหนึ่งที่ผู้เรียนจะตอบคำถาม ทางแป้นพิมพ์แสดงออกมาทางจอภาพ มีทั้งรูปภาพและตัวหนังสือหรือบางทีอาจใช้ร่วมกันกับ อุปกรณ์อย่างอื่นด้วย เช่น สไลด์ เทปวิดีทัศน์ เป็นต้น
ประเภท การทบทวน (Tutorials)
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะนี้จะเป็นการนำเสนอเนื้อหาวิชาใน
สิ่งใหม่ที่ผู้เรียนไม่คุ้นเคยมาก่อนจะทำหน้าที่เป็นผู้สอนพิเศษ
มีการนำเสนอเนื้อหา วิชาตามด้วยคำถามที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้เสนอไปแล้ว
ผู้เรียนจะมีโอกาสตอบสนอง โดยการตัดสินใจเลือกข้อที่ถูกที่สุดอาจจะอยู่ในรูปของคำถาม
จับคู่ ถูกผิด หรือ เลือกข้อที่ถูกที่สุด ผู้เรียนจะได้รับการเสริมแรง
โดยมีข้อมูลย้อนกลับให้กับผู้เรียน ทันที
ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากเรียนบทเรียนต่อไปและผู้เรียน
สามารถย้อนกลับไปเรียนใหม่ได้เมื่อต้องการทบทวนในสิ่งที่เรียนมาแล้ว หรือ
ต้องการเรียนเนื้อหาต่อไป ผู้เรียนก็สามารถเลือกได้เอง และควรจะมีการบันทึก
คะแนนสำหรับข้อที่ถูกและข้อที่ผิด เพื่อเป็นการตรวจสอบความสามารถของผู้เรียน
ได้ด้วยตนเอง
จากการที่กล่าวมาจะเห็นว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ให้คุณประโยชน์ต่อนักเรียนในการเรียนรู้เพราะได้มองเห็น
เป็นรูปธรรม เร้าใจ สำหรับประโยชน์ต่อครู-อาจารย์ ฮอลล์
กล่าวถึงประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ที่มีต่อครูผู้สอนไว้ดังนี้
1. ลดชั่วโมงสอนเพื่อจะได้ปรับปรุงการสอน
2. ลดเวลาที่จะต้องติดต่อกับผู้เรียน
3. มีเวลาศึกษาตำรา
งานวิจัย และพัฒนาความสามารถให้มากยิ่งขึ้น
4. ช่วยการสอนในชั้นเรียนสำหรับผู้ที่มีงานสอนมาก โดยการเปลี่ยนจากการฝึกทักษะในห้องเรียนมาใช้ ระบบคอมพิวเตอร์แทน
5. ให้โอกาสในการสร้างสรรค์และพัฒนานวกรรมใหม่
ๆ สำหรับหลักสูตรและวัสดุเพื่อการศึกษา
6. เพิ่มวิชาสอนโดยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามความต้องการของนักเรียน
7. ช่วยพัฒนาทางวิชาการ
8. ช่วยให้มีเวลาสำหรับตรวจสอบและพัฒนาหลักสูตรตามหลักวิชาการ
9. ช่วยเพิ่มวัตถุประสงค์ของการสอนได้เท่าที่จะเป็นได้
เช่น การฝึกหัดดนตรี จัดนิทรรศการงานกราฟฟิก ช่วยแก้ปัญหาของผู้เรียนเกี่ยวกับสถาปัตย์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)